RTLS เป็นเทคโนโลยีระบุตัวตนโดยอาศัยคลื่นความถี่วิทยุในการนำพาข้อมูลจาก RTLS tag ไปสู่ Locator เหมาะสำหรับการติดตามบุคคล หรือสิ่งของเพื่อระบุตำแหน่งแบบ Real-Time มีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมกีฬา อุตสาหกรรมการผลิต การบริหารจัดการโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมการแพทย์
เทคโนโลยี RTLS มีถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1998 โดย Tim Harrington, Jay Werb และ Bert Moore จากบริษัท Automatic Identification Manufacturer (AIM) ในช่วงแรกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้งานร่วมกัน RFID tag เพื่อแสดงผลการติดตามสินค้าลงในคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยี RTLS ในปัจจุบัน ต่อมาเทคโนโลยีได้ถูกยกระดับประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้นโดยถูกนำไปใช้ในทางการทหาร และงานราชการซึ่งในช่วงเวลานั้น เทคโนโลยี RTLS นั้นมีราคาสูงมากเกินกว่าที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจได้ซึ่งการประยุกต์ใช้ในเชิง Commercial ครั้งแรกนั้นได้เริ่มต้นจากอุตสาหกรรมทางการแพทย์ ซึ่งถูกนำไปใช้งานกับอาคารโรงพยาบาล 3 แห่ง ในสหรัฐอเมริกา โดยใช้งานร่วมกับ RFID active tag เป็นครั้งแรก
แนวคิดการทำงานของ RTLS
โดยทั่วไป RTLS มักจะถูกนำไปใช้งานภายในอาคาร หรือพื้นที่ที่มีการจำกัดไว้ ซึ่งแตกต่างจากเทคโนโลยี GPS ที่สามารถครอบคลุมพื้นที่ทัวโลกผ่านระบบดาวเทียม RTLS ในปัจจุบันมักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้งานร่วมกับมือถือ Smart Phone โดยอาศัยคลื่นความถี่ที่ถูกส่งออกมาจากมือถือในการระบุตำแหน่งและติดตาม เพื่อบริหารจัดการข้อมูลและส่งข้อมูลที่จำเป็นไปยังมือถือเครื่องใดก็ตามที่อยู่ในเครือข่ายสัญญานเดียวกัน
ข้อโดดเด่นของ RTLS นั้นสามารถแปลงสภาพเป็นทั้งเครื่องรับและเครื่องส่งได้ในตนเอง สามารถส่งสัญญานได้ในระยะไกลและครอบคลุมได้ทั่วทั้งอาคารโดยขึ้นอยู่กับจำนวนการติดตั้งของ Device ยิ่งเราติดตั้ง RTLS Locator มากเท่าไหร่เราจะก็สามารถระบุตัวตนได้แม่นยำมากขึ้น จนกว่าจะไม่สามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้
การจำแนกประเภทของเทคโนโลยี RTLS
เทคโนโลยี RTLS นั้นได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงพานิชย์มากขึ้น โดยอาศัยช่วงคลื่นความถี่วิทยุที่ถูกกำหนดให้สามารถใช้งานได้ในแต่ละประเทศ และแบ่งลักษณะของเทคโนโลยีที่สามารถใช้งานในอาคารและภายนอกอาคารได้ โดยประเทศไทยสามารถแบ่งแยกเทคโนโลยี RTLS ออกตามกลุ่มคลื่นความถี่ตั้งแต่ 900Mhz, 2.4GHz และ 5GHz โดยเทคโนโลยีที่นำคลื่นความถี่เหล่านี้ออกมาใช้จะประกอบด้วย RFID, BLE, UWB, Microwave, Wi-Fi, GPS ซึ่งแต่ละเทคโนโลยีจะมีลักษณะเด่นที่แตกต่างกัน สามารถดูความสามารถของแต่ละเทคโนโลยีได้ตามตารางด้านล่างนี้
จากตารางเปรียบเทียบเทคโนโลยีจะเห็นได้ว่าแต่ละเทคโนโลยีจะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่าง ซึ่งการเลือกใช้งานเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้แต่ละอุตสาหกรรม หรือกิจกรรมที่ต้องการติดตาม ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถติดตามการนำเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้งานได้ในบทความ Case Study ของเว็บไซต์ Matchpoint Technology หรือจะติดตามใน Facebook page และ Blockdit ก็ได้
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงความรู้ส่วนหนึ่งที่เรานำมาแบ่งปันข้อมูลให้กับท่าน เพื่อให้ท่านสามารถเลือกใช้เทคโนโลยี RTLS ได้อย่างถูกต้องตามความเหมาะสม ไม่ใช้จ่ายลงทุนที่เกินความจำเป็น จนทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ข้อควรระวังที่เราแนะนำคือ การเลือกใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ เราควรต้องระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนการทำ Brainstrom เพื่อร่วมหาข้อสรุปวัตถุประสงค์ที่แท้ในการเลือกใช้เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก หากยังไม่แน่ใจท่านสามารถติดต่อเพื่อขอคำแนะนำจากทีมงานของเราได้ที่ 062-563-9497